วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ลีลาศ

ลีลาศ
ก่อนที่เราจะได้เรียนจังหวะต่างๆของลีลาศ เราจะขอนำทุกทุกท่านย้อนเวลาไปสู่อดีต เพื่อไปค้นหาความเป็นมาของลีลาศกันซะก่อน และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาขอเชิญทุกท่านดำดิ่งสู่ห้วงแห่งการเวลากันได้เลย
.

.

วู้มมม
.

.

ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ก่อนที่เราจะเรียกการเต้นรำว่า ลีลาศ)
ศิลปะการเต้นรำในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ถูกค้นพบจากภาพวาดบนผนังถ้ำในแอฟริกาและยุโรปตอนใต้ ซึ่งศิลปะในการเต้นรำได้ถูกวาดมาไม่น้อยกว่า 20000 ปี โดยพิธีกรรมทางศาสนาจะรวมการเต้นรำ การดนตรี และการแสดงละคร ไว้ด้วยกัน ซึ่งพิธีกรรมเหล่านี้อาจเป็นการบวงสรวงเทพเจ้า งานรื่นเริงจากการล่าสัตว์มาได้ หรือ การออกสงคราม 
ต่อมาในยุคโบราณ หรือ ยุคที่อารยธรรมกรีก-โรมันมีความเจริญรุ่งเรือง
ส่วนใหญ่การเต้นรำในสมัยนี้จะใช้ประกอบการต่อสู้ การละคร การบวงสรวงเทพเจ้า และในงานรื่นเริงต่างๆ เคยมีนักปราชญ์ชาวกรีกกล่าวไว้ว่า “พลเมืองกรีกที่ดี ต้องเรียนรู้การเต้นรำเพื่อพัฒนาการบังคับร่างกายตนเอง ทักษะในการต่อสู้ ดังนั้นการเต้นรำด้วยอาวุธ จึงถูกนำมาใช้ในการศึกษาทางทหารของเด็กทั้งในรัฐเอเธนส์และสปาร์ต้า เพื่อนๆรู้ไหมคะว่า ใครคือนักปราชญ์ผู้นั้น?? ติดตามเฉลยได้ท้ายบทความค่ะ
 ยุคกลาง

การเต้นรำในยุคกลางตอนต้นจะเกิดข้อห้ามเกี่ยวกับการเต้นรำอย่างมากมาย เพราะเป็นช่วงที่บ้านเมืองกำลังสับสนวุ่นวาย ทางศาสนาเห็นว่าการเต้นรำบางอย่างถือว่าต่ำช้าและเกิดขึ้นเพื่อกามารมณ์
 ในช่วงยุคกลางของชาวยุโรป พวกขุนนางก็ยังคงจัดงานเต้นรำขึ้นในงานเลี้ยงเฉลิมฉลองในโอกาสต่างๆ โดยการเต้นรำสมัยนี้จะ เรียกว่า Carol มีลักษณะเป็นการเต้นรำที่ค่อนข้างช้า
ยุคฟื้นฟูศิลปะและวัฒนธรรม
    • ยุคฟึ้นฟูเป็นยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ยุคฟื้นฟูเริ่มในอิตาลี เมื่อปี ค.ศ. 300 การเต้นรำในสมัยนี้จะถูกเรียกว่า Balli หรือ Balletti 
    • ใน ค.ศ. 1588 "โตอิโน อาโบ" ได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการเต้นรำรูปแบบต่างๆ โดยใช้ชื่อว่า "Orchesographin"
    • Lorenzo de Medlci” ได้จัดการแข่งขันต่างๆขึ้นในงานเลี้ยง ณ คฤหาสน์ของเขา ซึ่งมีในการแข่งขันนี้ ก็ได้มีการบรรจุ การเต้นรำแบบใส่หน้ากาก ลงไปด้วย
    • พระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิซี พระราชินีในพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ได้นำคณะเต้นรำของอิตาลีมาเผยแพร่ในพระราชวังของฝรั่งเศส ทำให้เกิดเป็นจุดเริ่มต้นของระบำบัลเล่ย์
    • พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงได้ปรับปรุงและพัฒนาการบัลเล่ย์ใหม่ และพระองค์ได้ตั้งโรงเรียนบัลเล่ย์ขึ้นแห่งแรก ชื่อ Academic Royale de Dance (ซึ่งการเต้นระบำบัลเล่ย์จัดว่าเป็นพื้นฐานของลีลาศ)
    • ค.ศ. 1700 การเต้นรำที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ Gavotte, Allemande และMinuetรูปแบบการเต้นจะประกอบด้วยการก้าวเดินหรือวิ่ง การร่อนถลา การขึ้นลงของลำตัว การโค้ง และถอนสายบัว ภายหลังได้แพร่ไปสู่ยุโรปและอเมริกา เรียกว่า Country Dance
ยุคโรแมนติก
§  การเต้นรำจะมีความเป็นอิสระมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะแสดงให้เห็นเกี่ยวกับการใช้ชีวิตแบบสามัญชน

§  เกิดการเต้นวอลซ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ออสเตรีย (เป็นการเต้นรำที่อนุญาตให้ฝ่ายชายจับมือและเอวของฝ่ายหญิงได้)
§  คนผิวดำนิยมเต้น Tap-Dance หรือระบำย่ำเท้า (เป็นการเต้นผสมระหว่าง Jig ของชาวไอริส และ Clog ของชาวอังกฤษ)

§  ค.ศ. 1870 ผู้หญิงจะนิยมเต้น Can-can โดยใช้การเตะเท้าสูงๆ เพื่อเป็นสิ่งบันเทิงใจแก่พวกโคบาลที่อยู่ตามชายแดนอเมริกา ระบำแคน-แคน มีจุดกำเนิดมาจากฝรั่งเศส

ยุคปัจจุบัน (ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน)
Ø จังหวะวอลซ์ถูกเผยแพร่ ถือว่าเป็นจังหวะแรกในการเต้นลีลาศ

Ø กลางศตวรรษที่ 19 เกิดจังหวะต่างๆขึ้นดังนี้

o   Millitary Schottische นิยมในกลุ่มคนผิวดำ
o   Cakewalk นิยมในกลุ่มคนผิวดำ
o   Two-step
o   Boston
o   Turkey trot
Ø ค.ศ. 1910 การเต้นจังหวะแทงโก้ได้ถือกำเนิดขึ้น (ต้นกำเนิดอยู่ที่อาร์เจนตินา แล้วเผยแพร่ไปสู่ปารีส)
Ø ค.ศ. 1912 ค.ศ. 1914 Vemon และ Lrene Caste ได้เผยแพร่การเต้นแบบฟอกซ์ทรอท และ แทงโก้
Ø สงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้สร้างตำรารวมการเต้นบอลลล์รูมและลาตินอเมริกาไว้โดยกัน โดยมีบันทึกไว้เบื้องต้นเพียง 4 จังหวะ คือ วอลซ์, ควิกวอลซ์, สโลว์ฟอกซ์ทรอท, และ แทงโก้

Ø ค.ศ. 1920 เริ่มมีการเต้นในจังหวะ Paso Doble และ Fast fox-trot(one-step)

Ø ค.ศ. 1925 การเต้นรำจะเป็นจังหวะ Charleston (คล้าย Two-step) ในสมัยนี้การเต้นรำจะมีการใช้จินตนาการมาผสมผสานเกิดเป็นท่าเต้นใหม่ๆมากขึ้น

Ø ค.ศ. 1929

o   เกิดการเต้นจังหวะ Jittebug (ผสมระหว่างยิมนาสติก เบรก และการย่ำเท้าเร็วๆ)
o   เพลง JAZZ เริ่มมีอิทธิพล ส่งผลให้เกิด ควิกสเตป (จังหวะที่5 ของบอลล์รูม)

o   มีการจัดตั้งคณะกรรมการลีลาศ และการแข่งขันลีลาศในประเทศอังกฤษ

Ø ค.ศ. 1930 ชาวคิวบาได้ให้กำเนิดการเต้นในจังหวะรัมบ้า
Ø ค.ศ. 1940 ได้มีการจัดวางรูปแบบและลวดลายลงในลีลาศ เพื่อให้เป็นมาตราฐานสากล

Ø ค.ศ. 1950 ที่บราซิลเกิดการเต้นจังหวะคองก้า และ จังหวะ แซมบ้า
Ø ค.ศ. 1950 มีการจัดตั้งสภาการลีลาศระหว่างชาติ (I.C.B.D.) และในช่วงเดียวกันนี้ก็ได้เกิดการเต้นจังหวะแรมโบ้(คิวบา), จังหวะชะ ชะ ช่า(โดมินิกัน), และ จังหวะเมอเรกเก้(โดมินิกัน)
Ø ค.ศ. 1959 กำหนดจังหวะพื้นฐานของลีลาศอย่างแน่นอน ได้แก่ วอลซ์, ฟอกซ์ทรอท, แทงโก้, และ ควิกสเตป

Ø ค.ศ. 1960 จังหวะทวิสต์, ฮัสเซิล, และ Bossanova ได้ถือกำเนิดขึ้น

Ø จังหวะที่ถูกจัดอยู่ในลีลาศ ล่าสุด เกิดในปี ค.ศ. 1970 ซึ่งก็คือจังหวะดิสโก้
ขอบข่ายของกีฬาลีลาศ
สภาการลีลาศนานาชาติ  (International Council of Ballroom Dancing: I.C.B.D.) ได้ทำการรวบรวมและแบ่งการลีลาศออกเป็น  2  ประเภท  คือ
1.            ประเภทบอลรูม  (Ballroom Dancing)
เป็นการลีลาศที่ใช้จังหวะ นุ่มนวล สง่างาม ลักษณะการลีลาศและทำนองดนตรีเต็มไปด้วยความสุภาพอ่อนหวาน เท้าจะสัมผัสกับพื้น มักพบการลีลาศประเภทนี้ในหมู่ขุนนางชาวอังกฤษจึงเรียกติดปากว่า เป็นการลีลาศแบบผู้ดีอังกฤษ  มี 5 จังหวะ  ดังนี้
·       จังหวะวอลซ์  (Waltz)
·        จังหวะควิกวอลซ์  หรือเวนิสวอลซ์  
·       จังหวะฟอกซ์ทรอท (Foxtrot)
·       จังหวะแทงโก้ (Tango)
·       จังหวะควิกสเตป (Quick  Step)
2.            ประเภทลาตินอเมริกัน (Latin American Dancing)

เป็นการลีลาศที่ใช้จังหวะค่อนข้างเร็ว  ใช้ความแคล่วคล่องว่องไว สามารถยกเท้าพ้นพื้นได้ ทำนองและจังหวะดนตรีจะเร้าใจทำให้เกิดความสนุกสนานร่าเริง  มีอยู่  5  จังหวะ คือ
·       จังหวะคิวบันรัมบ้า  (Cuban  Rumba)
·       จังหวะแซมบ้า (Samba)
·       จังหวะพาโซโดเบิล (Paso  Doble)
·       จังหวะไจว์ฟ (Jive)
·       จังหวะชะชะช่า (Cha Cha Cha)         
นอกจากนี้ยังมีลีลาศอีกประเภทหนึ่ง  ซึ่งจัดอยู่ในประเภทเบ็ดเตล็ด  (Pop or Social Dance) โดยรวบรวมจังหวะที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ และยังไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล หรือเป็นจังหวะที่นิยมลีลาศกันภายในบางประเทศแต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ประกอบด้วยจังหวะต่าง ๆ ดังนี้

·         จังหวะบีกิน  (Beguine)
·         จังหวะอเมริกันรัมบ้า  (American Rumba)
·         จังหวะดิสโก้  (Disco)
·         จังหวะตะลุงเทมโป้  (Taloong Tempo)
·         จังหวะกัวราช่า  (Guarracha)
·         จังหวะแมมโบ้  (Mambo)
·         จังหวะคาลิปโซ่  (Calypso)
·         จังหวะร็อค  แอนด์  โรล  (Rock and Roll)
·         จังหวะออฟบีท  (Off – beat)
·         จังหวะทวิสต์  (Twist)
·         จังหวะบั๊มพ์  (Bump)
·         จังหวะฮัสเซิล  (Hustle)
ประโยชน์ของลีลาศ
ในสังคมปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาที่สลับซับซ้อนขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง สภาพการณ์เหล่านี้เป็นเหตุให้มีประชากรที่มีปัญหาทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งจิตแพทย์  นักจิตวิทยาและนักการศึกษาได้พยายามเน้นและชี้นำให้เห็นถึงความจำเป็นเกี่ยวกับการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถผ่อนคลายความเครียด และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ซึ่งลีลาศเป็นกิจกรรมหนึ่งที่นอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังช่วยพัฒนาบุคคลในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมได้เป็นอย่างดี ซึ่งอาจสรุปประโยชน์ของการลีลาศได้ดังนี้
1.ช่วยส่งเสริมให้บุคคลได้ออกกำลังกาย ทำให้มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์และมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น
2.ช่วยพัฒนาทักษะทางกลไก (MOTOR SKILL) ให้ดียิ่งขึ้น
3.ทำให้ร่างกายมีทรวดทรงและการประสานงานที่ดี ซึ่งนำไปสู่การมีบุคลิกภาพในด้านการเคลื่อนไหวที่ดูสง่างาม
4.ช่วยผ่อนคลายความเครียดทั้งทางร่ายกายและจิตใจ
5.ช่วยให้บุคคลรู้จักการเข้าสังคม รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมได้ดี
6.ทำให้มีเพื่อนเพิ่มขึ้น
7.ส่งเสริมให้บุคคลมีความเชื่อมั่นในตนเองยิ่งขึ้น
8.กล้าแสดงออกในทางสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม
9.ทำให้มีความรู้สึกซาบซึ้งและเข้าใจในวัฒนธรรม
10.ช่วยจรรโลงวัฒนธรรมในทางที่ดีให้คงอยู่ต่อไป
11.ส่งเสริมให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
12.เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 
13.ทำให้มีชีวิตยืนยาวและปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข



จังหวะลีลาศ

1.จังหวะช่ะ ช่ะ ช่า
ช่ะ ช่ะ ช่า ในบรรดาจังหวะเต้นรำแบบละตินอเมริกันที่มีอยู่ด้วยกัน 5 จังหวะนั้น ช่ะ ช่ะ ช่า
เป็นจังหวะเต้นรำที่มีกำเนิดหลังสุด เป็นจังหวะที่รับการพัฒนามาจากจังหวะแมมโบ้ ( MAMBO) ซึ่งในอดีตเรียก
ชื่อจังหวะนี้เต็ม ๆ ว่า แมมโบ้ ช่ะ ช่ะ ช่า ต้นกำเนิดมาจากคิวบา

การเต้นรำจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า นี้ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยชาวฟิลิปปินส์ ชื่อ มิสเตอร์เออร์นี่ นัก
ดนตรีของวง “ ซีซ่า วาเลสโก ” ได้นำลีลาการเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า และการเขย่ามาลากัส (ลูกแซ็ก) มาประกอบเพลงเข้า
ไปด้วย ซึ่งลีลาการเต้นนี้เป็นที่ประทับใจบรรดานักเต้นรำและครูสอนลีลาศทั้งหลาย จึงได้ขอให้มิสเตอร์เออร์นี่สอน
ให้ การเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า ตามแบบของมิสเตอร์เออร์นี่จึงถูกถ่ายทอดและมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน

ดนตรีและการนับจังหวะ
ดนตรีของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า มีท่วงทำนองที่สนุกสนานเร้าใจ และมีจังหวะเน้นเด่นชัดดนตรีจะเป็นแบบ 4/4 เหมือนกับ
จังหวะคิวบ้า รัมบ้า  คือ ใน 1 ห้องมี 4 จังหวะ

การนับจังหวะสามารถนับได้หลายวิธี เช่น หนึ่ง- สอง – สามสี่ – ห้า หรือ หนึ่ง – สอง ช่ะ ช่ะ ช่า หรือนับก้าวจนครบตาม
จำนวนลวดลายพื้นฐาน หรือนับตามหลักสากลคือ นับตามจังหวะของดนตรี คือ สอง – สาม – สี่ และ – หนึ่ง
โดยที่ก้าวแรกตรงกับจังหวะที่ 2 ของห้องเพลง

ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี
ดนตรีของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 32 ห้องเพลงต่อนาที (30 – 40 ห้องเพลงต่อนาที

การก้าวเท้า
การก้าวเท้าในจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า ไม่ว่าจะเป็นการก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยหลังจะต้องให้ฝ่าเท้า ( BALL OF FOOT) สัม
ผัสพื้นก่อนเสมอแล้วจึงราบลงเต็มเท้า การเต้นรำในจังหวะนี้จึงมีการใช้ฝ่าเท้ามากที่สุด และการใช้ตาต้องให้สัมพันธ์กับเข่า
เพราะเมื่อมีการก้าวเท้าเข่าจะต้องงอเล็กน้อย หลังจากราบลงเต็มเท้าแล้วเข่าจึงตึง ส่วนเข่าอีกข้างก็จะงอเพื่อเตรียมก้าวต่อ
ไป กล่าวได้ว่าตลอดเวลาของการใช้เท้านั้น เมื่อน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าใดส้นเท้านั้นจะต้องลดลง ดังนั้นจึงมีการสับเปลี่ยนการตึง
และงอของช่วงขา พร้อมทั้งการลดลงและยกขึ้นของสั้นเท้าสลับกันตามลำดับ ซึ่งการปฏิบัติในลักษณะนี้ทำให้สะโพกบิดไปมา
สวยงามตามแบบการเต้นละตินอเมริกัน แต่ต้องระวังอย่าให้เป็นการจงใจทำเกินไปเพราะจะทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดูได้อย่างไร
ก็ตามในการฝึกระยะแรกไม่ควรกังวลเกี่ยวกับการใช้ ขา เข่า และเท้ามากนัก ควรฝึกฝนลวดลายการเต้นให้ถูกต้องตามจังหวะ
ของดนตรีเสียก่อนจนเกิดความชำนาญ แล้วจึงค่อยกลับมาฝึกฝนการก้าวเท้าเพื่อให้เกิดความสวยงามในภายหลัง


2.จังหวะวอลซ์
วอลซ์ เป็นการเต้นรำแบบพื้นเมืองในจังหวะ  3/4 (วิธีใช้·ข้อมูล) กำเนิดขึ้นในออสเตรียและเยอรมนี โดยพัฒนามาจากการเต้นลีลาศหมุนตัว เป็นการเต้นรำแบบคู่ชายหญิง คู่เต้นจะต้องเกาะแขนกันและสืบเท้าไปด้านข้างพร้อมกับหมุนตัวอย่างรวดเร็ว การที่คู่เต้นเกาะแขนกันนี้ก็เพื่อช่วยในการทรงตัว ทำให้นักเต้นไม่จำเป็นต้องกระโดดสูงเพื่อหมุนตัว เหมือนการเต้นหมุนตัวในสมัยก่อนหน้านั้น ถือกำเนิดขึ้นแถบแคว้นบาวาเรีย ราวทศวรรษ 1750 เรียกว่าการเต้น วอลต์เซอร์ (Waltzer) [1]
การเต้นรำแบบวอลซ์นี้แตกต่างการเต้นแบบมินูเอตที่นิยมอยู่ก่อน ซึ่งคู่เต้นรำเพียงแค่แตะปลายนิ้วกันเท่านั้น การที่ชายหญิงต้องสัมผัสร่างกายอย่างใกล้ชิด โดยฝ่ายชายต้องโอบแขนไปรอบเอวของฝ่ายหญิง ทำให้เกิดคำวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงแรก [2] แต่ต่อมาการเต้นแบบนี้ก็ได้รับความนิยมไปทั่วทั้งกรุงเวียนนา เมื่อราวทศวรรษ 1770
ในศตวรรษที่ 19 ได้มีผู้เรียกจังหวะดนตรีที่ใช้ในการเต้นวอลซ์ ว่า ดนตรีวอลซ์


3.จังหวะแทงโก้
จังหวะ มิรองก้า MILONGA คือแม่แบบของจังหวะแทงโก้ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะคือ การเคลื่อนไหวของ ศีรษะและไหล่ โดยการสับเปลี่ยนทันทีทันใด จากการเคลื่อนไหวสู่ความนิ่งสงบต้นศตวรรษที่ 20 ได้มีการเต้นรำจังหวะ มิรองก้า นี้ในโรงละครเล็ก ๆ โดยเหล่าชนสังคมชั้นสูงที่มาจากประเทศ บราซิล ในช่วงเวลานั้น ชื่อของมันได้ถูกเปลี่ยนจาก มิรองก้า เป็นแทงโก้ ชื่อของมิรองก้า ยังมีตำนานเล่าขานอีกมากมายที่จะหวนไปสู่ความทรงจำ ที่มีมาจากนครบัวโนส แอเรส (BUENOS AIRES)แห่งประเทศอาร์เจนติน่า จังหวะแทงโก้ ได้ถูกแนะนำสู่ทวีปยุโรป ความจริงแล้วเริ่มก่อนในกรุงปารีส ในชุมชนชาวอาร์เจนติน่า กระทั่งปี ค.ศ.1907 แทงโก้ไม่เป็นที่ยอมรับในกรุงลอนดอน การเต้นได้ส่อแนวไปทางเพศสัมพันธ์มากเกินไป และมีคนจำนวนมากคัดค้าน ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบ (STYLISTIC) ไปบ้าง จังหวะแทงโก้ถึงได้รับการยอมรับในกรุงปารีส และลอนดอน ในเวลานั้น (ค.ศ. 1912) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของแทงโก้ปาร์ตี้ แทงโก้ทีส์ และแทงโก้ซุปเพียร์ ร่วมกันกับการแสดงของเหล่านักเต้นแทงโก้ระดับมืออาชีพ ในปี ค.ศ.1920/1921 จังหวะแทงโก้ ได้เพิ่มความมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ในการร่วมปรึกษาหารือในการประชุมที่มหานครลอนดอน ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 30 ลักษณะการกระแทกกระทั้นเป็นช่วงๆ (STACCATO ACTION) ได้ถูกนำเข้าใช้ร่วมในองค์ประกอบท่าเต้นของจังหวะแทงโก้

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ แทงโก้
เอกลักษณ์เฉพาะ มั่นคง และ น่าเกรงขาม โล่งอิสระ ไม่มีการสวิง และ เลื่อนไหลการกระแทกกระทั้น เป็นช่วงๆ (STACCATO ACTION)การเคลื่อนไหว เฉียบขาด อาการเปลี่ยนแปลงที่สับเปลี่ยนอย่างฉับพลันสู่ความสงบนิ่ง การ ย่างก้าวที่นุ่มนวลอย่างแมวห้องดนตรี 2/4ความเร็วต่อนาที 33 บาร์ สอดคล้องกับกฎของ IDSFการเน้นจังหวะ บีทที่ 1 และ 3 เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาทีการขึ้นและลง ไม่มีการขึ้นและลงหลักพลศาสตร์ ความสมดุลที่ดีร่วมกับการใช้น้ำหนัก จังหวะเวลา และการขับเคลื่อนอย่างโล่งอิสระ


4.จังหวะแซมบ้า
ความมีชีวิตชีวาและท่วงทำนองที่มีจังหวะจะโคนของแซมบ้า โดยปกติแล้วจะนำมาซึ่งความตื่นเต้น เร้าใจบนฟลอร์ของการแข่งขัน การออกแบบท่าเต้น การมีดุลยภาพร่วมกับการทรงตัวที่หยุดนิ่ง และรูปแบบของการเต้นซิกแซค ที่เคลื่อนไหวไปข้างหน้า โดยทั่วไปแล้วแซมบ้าเป็นการเต้นรำที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ลักษณะการเคลื่อนไหวควรที่จะสะท้อนถึงลักษณะการเดินพาเหรด เป็นวงกลมในที่ว่าง บางครั้งจะแสดงลีลาอวดผู้ชม โดยการเต้นพักอยู่กับที่
การเต้นแซมบ้าแบบแข่งขันในปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบดั้งเดิมของ "บราซิลเลี่ยนแซมบ้า" ไปเป็นอย่างมาก ซึ่งในอดีตนั้น เน้นการกระตุ้นให้ผู้คนเกิดความรู้สึกที่ลุ่มหลง คลั่งไคล้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแซมบ้าจะเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบดั้งเดิมไป โดยละทิ้งลักษณะการเต้นแบบพาเหรด และความมีชีวิตชีวาลงไปบ้าง ก็มิได้ทำให้เสียภาพลักษณ์ของแซมบ้าแต่อย่างไร
สิ่งที่เราต้องการจะเห็นจากคู่แข่งขันก็คือ การใช้ความยืดหยุ่นของร่างกายเป็นอย่างมาก ท่อนแขน จะมีบทบาทสำคัญรองลงมา โดยใช้เพื่อทำให้เกิดความสมดุลย์ในการใช้ร่างกายเต้นเข้ากับจังหวะ นักเต้นแซมบ้าที่ดี ควรตระหนักถึงการใช้น้ำหนัก และจะต้องไม่เพิ่มเติมความหนักหน่วงลงไปในน้ำหนักของการเคลื่อนไหวที่เป็นจริง
สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักแข่งขันก็คือ ต้องให้ความสำคัญโดยมุ่งประเด็นไปที่ ลักษณะการผ่อนคลายและการใช้น้ำหนัก , การเน้นเพื่อเพิ่มทัศนะการต่อสู้บนฟลอร์การแข่งขัน เพื่อเชือดเฉือนให้ออกมาเป็นแซมบ้า ที่เปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวา
ประวัติของจังหวะ แซมบ้า
ต้นแบบของแซมบ้า มาจากอัฟริกา แต่ได้รับการพัฒนามากที่สุดที่ประเทศบราซิล ซึ่งจะปรากฏให้เห็นในงานเทศกาลรื่นเริง และตามโรงเรียนสอนจังหวะแซมบ้าในประเทศบราซิล ปี ค.ศ. 1925 จังหวะแซมบ้า เริ่มแพร่หลายเข้าสู่ทวีปยุโรป ถึงแม้ว่า แซมบ้า จะได้รับการยอมรับเป็นจังหวะหนึ่งที่ใช้ในการแข่งขันก็ตาม แต่การบุกเบิกครั้งสำคัญของจังหวะแซมบ้า ได้เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1939 ในงานมหกรรมการแสดงระดับโลกในนครนิวยอร์ค จังหวะแซมบ้าได้ถูกยอมรับอย่างแท้จริงในปี ค.ศ. 1948/1949
ผู้ที่ได้พัฒนาจังหวะแซมบ้า มากที่สุดคือ Walter Laird และ Lorraine ซึ่งทั้งสองท่านเป็นอดีตแชมเปี้ยนโลก ของการเต้นรำแบบลาตินอเมริกัน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น

 
5.จังหวะพาโซโดเบ้ หรือ ปาโซโดเบล
                พาโซโดเบ้ หรือ ปาโซโดเบล มีที่มาจากการสู้วัวกระทิงปาโซโดเบล (สเปน: Paso Doble หรือ Pasodoble) เป็นประเภทของดนตรีที่มีจังหวะ 2/4 คล้ายกับเพลงมาร์ชของสเปน และยังหมายถึงรูปแบบการเต้นรำ ทั้งการเต้นคู่และการเต้นบอลรูม ประกอบดนตรีที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
         จังหวะดนตรีปาโซโดเบล แต่เดิมใช้เล่นในประเทศสเปนในการสู้วัวกระทิง ในช่วงพิธีกรรมที่นักสู้วัวกระทิงกำลังเดินลงสู่สนาม และขณะกำลังจะฆ่ากระทิง และได้พัฒนามาเป็นรูปแบบการเต้นรำ โดยเริ่มต้นจากประเทศฝรั่งเศส นักเต้นชายจะยึดร่างของคู่เต้น และแกว่งไปมาในลักษณะเดียวกับที่นักสู้วัวกระทิงแกว่งผ้าสีแดงยั่วกระทิง นักเต้นจะเต้นโดยการย้ำส้นเท้านำเป็นจังหวะอย่างเร็ว และไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวของสะโพก นักเต้นชายจะเคลื่อนไหวเป็นวงกลม เน้นความสง่างามเหมือนนักสู้ และเปรียบนักเต้นหญิงเสมือนผ้าที่แกว่งไกว
         การเต้นแบบปาโซโดเบลได้รับความนิยมในยุโรปและสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1930 และได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในห้าการเต้นมาตรฐานในการแข่งขันเต้นบอลรูมจังหวะละติน (ประกอบด้วยรุมบา แซมบา ชะ-ชะ-ช่า ปาโซโดเบล และไจฟ์)
ประวัติ ของจังหวะ พาโซโดเบ้

         พาโซโดเบ้ เป็นจังหวะการเต้นรำเพียงจังหวะเดียวในแบบลาตินอเมริกันที่ไม่ได้มีที่มาจากชนผิวดำ (NEGRO) ถิ่นกำเนิดที่แท้จริงอยู่ที่ประเทศสเปน ขีดความนิยมแพร่หลายสูงสุด เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1926 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะพาโซโดเบ้ได้รับการยอมรับให้ บรรจุเข้าเป็นจังหวะหนึ่งของการแข่งขัน
ลักษณะเฉพาะ ของ จังหวะ พาโซโดเบ้

         เอกลักษณ์เฉพาะ สง่าและภาคภูมิ ความเป็นชาวสเปน อวดลีลาการเต้นแบบ ฟลามิงโก้การเคลื่อนไหว ในที่โล่ง และเคลื่อนไปข้างหน้า การโบกสะบัดผ้าคลุม การเคลื่อนไหวเป็นวงกลม และการเดินมาร์ชห้องดนตรี 2/4ความเร็วต่อนาที 62 บาร์ ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ I D S F การเน้นจังหวะ เน้นเล็กน้อย บนบีทที่ 1ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาที ครึ่งถึง 2 นาทีการขึ้นและลง เขย่งขึ้นลงบ้างในบาง ฟิกเกอร์หลักพลศาสตร์ การเดินแบบมาร์ชที่มั่นคงและตรงทิศทาง
ประวัติของจังหวะ สโลว์ฟอกซ์ทรอท


6.จังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอท
จังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอท ได้ถูกแนะนำเข้ามาในทวีปยุโรป พึ่งจะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จากรากฐานของมัน ฟอกซ์ทรอท เป็นการเต้นรำที่แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึก ด้วยการเคลื่อนไหวที่มีทั้งช้าและเร็ว พูดกันว่าชื่อนี้ตั้งขึ้นมาจากนักเต้นรำ ประกอบดนตรีคนหนึ่ง (MUSICAL DANCER) ชื่อฮารีฟอกซ์ (HARRY FOX) เหล่าครูสอนเต้นรำชาวยุโรปไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นนัก ต่อลักษณะการเต้นอย่างไม่มีรูปแบบของจังหวะฟอกซ์ทรอท และเริ่มต้นขัดเกลาเพิ่มขึ้นระหว่าง ปี ค.ศ. 1922 และ 1929 แฟรงค์ฟอร์ด (FRANK FORD) ผู้ซึ่งเคยร่วมสาธิตกับ โจเซฟฟิน เบรดลีย์ (JOSEPHINE BRADLEY) ได้พัฒนาพื้นฐานการเคลื่อนไหวพื้นฐานของจังหวะ สโลว์ฟอกซ์ทรอทขึ้นแง่คิดนี้ทำให้เขาได้รับชัยชนะ ในงานแข่งขันเต้นรำปี 1927 “STAR CHAMPIONSHIPS” ร่วมกับคู่เต้นที่ชื่อ มอลลี่ สเปญ (MOLLY SPAIN)ท่าเต้นส่วนมากที่ทั้งสองใช้เต้นในครั้งนั้น นักแข่งขันยังคงใช้อยู่ถึงปัจจุบัน ช่วงเวลานั้น ทำนองดนตรีที่ถูกต้อง ยังไม่คิดทำขึ้น จังหวะฟอกซ์ทอรท คิดจะเล่นอย่างไรก็ได้ซึ่งมีตั้งแต่ จาก 40 ถึง 50 บาร์ ต่อนาที และเป็นการง่ายที่จะใช้สไตล์อย่างไรก็ได้ สุดแท้แต่ความเร็วของดนตรีที่เปลี่ยนแปลงไป ตามแต่ว่าใครที่จะเป็นผู้ควบคุมวงดนตรี แต่ครั้งนั้นครั้งเดียววงดนตรี วิคเทอซิลเวสเทอ (VICTOR SILVESTOR’S BAND) เริ่มทำการปรับปรุงและปัญหาก็ได้ถูกแก้ไข
ประวัติของจังหวะ ควิ๊กสเต็ป
               
7. จังหวะควิ๊กสเต็ป
ควิ๊กสเต็ป ได้แตกแขนงมาจาก จังหวะฟอกซ์ทรอท ช่วงทศวรรษที่ 20 วงดนตรีส่วนมากจะเล่นจังหวะฟอกซ์ทรอท ถึง 50 บาร์ต่อนาที ซึ่งเป็นความเร็วที่เร็วเกินไป การก้าวเท้าที่เปิดกว้างของจังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอทไม่สามารถจะทำการเต้นบนความเร็วขนาดนี้ได้ ชาวอังกฤษได้พัฒนามาจากการเต้น ชาร์ลสทั่น (CHARLESTON) ต้นแบบซึ่งเป็นจังหวะหนึ่งของการเต้นที่ต่อเนื่องโดยไม่มีการเตะเท้าและได้ทำการผสมผสานกับจังหวะฟอกซ์ทรอท (เร็ว) ที่ได้กล่าวมาแล้ว เรียกจังหวะนี้กันว่า จังหวะ ควิ๊กไทม์ ฟอกซ์ทรอท และ ชาร์ลสทั่น (QUICKSTEP FOXTROT AND CHARLESTON) คู่เต้นรำชาวอังกฤษ แฟรงค์ฟอร์ด และ มอลลี่ สเปญ (FRANKFORD AND MOLLY SPAIN)ได้เต้นรูปแบบใหม่ของจังหวะ QUICKTIME FOXTROT AND CHARLESTON ในงานเดอะสตาร์แชมป์เปี้ยนชิพ ของปี ค.ศ.1927 โดยปราศจากลักษณะท่าทางของการใช้เข่าแบบ CHARLESTON และทำการเต้นเป็นคู่แทนการเต้นแบบเดี่ยว รูปแบบท่าเต้น คือ QUARTER TURNS, CROSS CHASSES, ZIGZAGS, CORTES,OPEN REVERSE TURNS และ FLAT CHARLESTON ในปี ค.ศ. 1928 / 1929 จังหวะควิ๊กสเต็ปได้แจ้งเกิดอย่างแน่ชัด ในรูปแบบของ การก้าวแบบ ชาสซี่ส์ (CHASSES STEPS)
ประวัติของจังหวะ เวียนนีสวอลซ์


8.จังหวะเวียนนีสวอลซ์
โดยดั้งเดิมเวียนนีสวอลซ์มีความเป็นมาจาก ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมัน แถบเทือกเขา เอลป์ ช่วงศตวรรษ ที่ 18 การเต้น WELLER , WALTZ และ LANDLER ได้ถูกค้นพบ และ จังหวะสุดท้าย LANDLER นี่เองที่เป็นต้นแบบดั้งเดิมของ เวียนนีสวอลซ์ ระหว่างปี ค.ศ. 1800 และ ค.ศ. 1820 การก้าวเท้า และ รูปแบบท่าเต้นต่างๆ ของจังหวะ LANDLER ได้ถูกลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากความเร็วของดนตรี และจากนั้น การเต้น 6 ก้าว ของเวียนนีสวอลซ์ ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นช่วงยุค ซิคตี้ (SIXTIES) ประเทศเยอรมัน และอังกฤษได้มีการถกเถียงกันมาก เกี่ยวกับเรื่องจำนวนของรูปแบบท่าเต้น ที่จะอนุญาตให้บรรจุเข้าในการแข่งขัน ในปี ค.ศ. 1883 I.C.B.D. (INTERNATIONAL COUNCIL OF BALLROOM DANCING) ได้สรุปตกลงใจในขั้นสุดท้าย ดังนี้ NATURAL AND REVERSE TURN , NATURAL AND REVERSE FLECKERS THE CONTRA CHECK เปลี่ยนจาก REVERSE FLECKERS ไปยัง NATURAL FLECKERS เต้นอยู่บนเวลา หนึ่งบาร์ของดนตรี ในความเห็นของข้าพเจ้า ควรที่จะเพิ่มเติม ฟิกเกอร์ (FIGURES) เข้าไปในเวียนนีสวอลซ์ มากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาในรูปแบบทิศทางที่แน่นอนขึ้น อย่างเช่น THROWAWAY OVERSWAY, NATURAL HINGE LINE ON RIGHT SIDE , NATURAL OFF – BEAT SPINS ฯลฯ


 9.จังหวะไจว์ฟ
ไจว์ฟเป็นจังหวะหนึ่งในการเต้นลีลาศ ซึ่งเป็นการเต้นเพื่อความสนุกสนานและได้พบกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมในงานสังสรรค์ หรืองานราตรีสโมสร ลีลาศนี้ มีมานับเป็นพันๆ ปีแล้ว แต่เพิ่งมีหลักฐานแน่ชัดเมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 1400 ซึ่งได้อธิบายถึงการก้าวเดิน และดนตรี
การเต้นลีลาศมีสองลักษณะคือ เพื่อสังสรรค์สนุกสนานในงานสังคม (Social Dance) และเป็นกีฬาเต็มรูปแบบ (Sport Dance) ที่ต้องฝึกซ้อมเข้มข้นเพื่อการแข่งขันโดยเฉพาะ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกก็บรรจุกีฬาลีลาศเข้าไว้ด้วยเช่นกัน
ไจว์ฟ เป็นจังหวะหนึ่งในกีฬาลีลาศ เป็นการเต้นรำที่มีจังหวะจะโคน และการสวิงค์ ซึ่งพัฒนามาจากหลายๆจังหวะรวมกัน ได้แก่  Rock 'n' Roll , Bogie และ African / American Swing เน้นที่การดีด สะบัด เตะปลายเท้า
ดนตรีและการนับจังหวะ
ดนตรีของจังหวะไจฟว์เป็นแบบ 4/4 คือ มี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง ดนตรีจะมีเสียงเน้นหนักใน จังหวะที่ 2 และ 4 ซึ่งเราจะได้ยินเสียง แต๊ก ตุ่ม แต๊ก ตุ่ม ดังอยู่ตลอดเพลง
การเต้นไจฟว์ในแบบ TRIPLE RHYTHM มี 8 ก้าว การนับจังหวะจะเป็นแบบ 1,2,3-4-5,6-7-8 หรือ 1,2,3 และ 4,3 และ 4 หรือ เร็ว, เร็ว, เร็วและเร็ว, เร็วและเร็ว ก็ได้ โดยที่ก้าวที่ 1,2 และ 4 มีค่าเท่ากับก้าวละ 1 จังหวะ สำหรับก้าวที่ 3 มีค่าเท่ากับ 3/4 จังหวะส่วนก้าวที่เรียก “ และ ” มีค่าเท่ากับ 1/4 จังหวะ
ดนตรีของจังหวะไจฟว์บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 40 ห้องเพลงต่อนาที (30 – 50 ห้องเพลงต่อนาที)


สามารถดูคลิปวิดิโอลีลาศได้ที่นี้ตาม URL
http://www.youtube.com/watch?v=dTwBpOtOd3E

http://www.youtube.com/watch?v=cFeAwZslAHY&feature=fvwrel
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น